ต้นไม้ประจำจังหวัด

http://pooplaza.siam2web.com/

ภาคกลาง

(Root) 2010118_82324.jpg

จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina Linn.) ชื่ออื่น ไทรย้อย ไทรกระเบื้อง หรือ
ไทร ไทรย้อยใบแหลมสูง 5-10 เมตร มีรากอากาศห้อยลงมาจากลำต้นและกิ่งก้าน ใบ
เดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบรูปทรงรี กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ มี
ถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ ดอกมีขนาดเล็ก ผลรูปทรงกลม
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลสุกมีสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด
ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

 

 

 

 

 

(Root) 2010118_82369.jpg
จังหวัดกาญจนบุรี
ขานาง (Homalium tomentosum Benth.) ชื่ออื่น ค่านาง ช้างเผือกหลวง ลิงง้อ
หรือเปลือย ขานางเป็นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบ สูง15-30 เมตร ลำต้นตรง เปลือกแข็งสีเทา
ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 5-13 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร
ขอบใบหยักเรือนยอดเป็นพุ่มพบในป่าเบญจพรรณชื้นบริเวณภูเขาหินปูนสูงจาก
ระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-300 เมตร ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี ออกดอก
เดือนธันวาคม-มกราคม ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลาย
กิ่ง ผลค่อนข้างเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด เนื้อไม้แข็ง และเหนียว นิยมใช้ทำเครื่อง
เรือน และเสาบ้าน

 

 

 

 

(Root) 2010118_82409.jpg
จังหวัดฉะเชิงเทรา
นนทรีป่า (Peltophorum dasyrachis Kurz) ชื่ออื่น ร้าง คางรุ้ง ช้าชม อะราง หรือ
อะล้าง นนทรีป่าเป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบมีรอยแตกเป็น
สะเก็ด ใบประกอบรูปขนนก เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร
แ ล ะ ย า ว 1-2 . 5 เ ซ น ติเ ม ต ร ขึ้น เ ป็น ก ลุ่ม ต า ม ช า ย ป่า ด ง ดิบ แ ล้ง ท า ง ภ า ค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และป่าโปร่งชื้นทั่วไป ออกดอกทั้งปี ดอกสีเหลือง
ออกเป็นช่อ ยาว 15-30 เซนติเมตร ผลเป็นฝักแบน กว้าง 2-4 เซนติเมตร และยาว 10-
15 เซนติเมตร ในแต่ละฝักมี 4-8 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด เนื้อไม้แข็งใช้ทำ
สิ่งก่อสร้างและเครื่องเรือน เปลือกรสฝาด ใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับขับเสมหะ ขับลม

 

 

 

 

 

(Root) 2010118_82418.jpg
จังหวัดชัยนาท
มะตูม (Aegle marmelos Corr) ชื่ออื่น ตูม มะปีส่า ตุ่มตัง หรือกะทันตาเถร
มะตูมเป็นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบ สูง 5-10 เมตร ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา ใบประกอบ
รูปขนนก เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 3-6 เซนติเมตร และยาว 4-12 เซนติเมตร
ปลายใบแหลม โคนสอบ เรือนยอดโปร่ง พบบางแห่งในป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาค
ตะวันออก และภาคใต้ ออกดอกในเดือน มีนาคม-เมษายน ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว
กลิ่นหอม ผลรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร และยาว 12-18
เซนติเมตร เมล็ดรูปทรงรี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด เนื้อไม้ละเอียด ใช้ทำเกวียน และ
หวี ยางจากผลดิบใช้แทนกาว เปลือกผลใช้ย้อมผ้า เนื้อในเชื่อมทำขนมหวาน และน้ำดื่ม มี
สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และแก้ท้องเสีย ผลสุกใช้เป็น
ยาระบาย

 

 

 

 

(Root) 2010118_82428.jpg
จังหวัดนครนายก
สุพรรณิการ์ (Cochlospermum religiosum Alston) ชื่ออื่น ฝ้ายคำ สุพรรณิการ์
เป็นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบ สูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยว
ปลายใบแหลมโคนเว้าขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบภาคกลางออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 เซนติเมตร ผลรูปไข่
กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร และยาว 5-7 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด และปักชำ
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

 

 

 

 

 

 

(Root) 2010118_82437.jpg
จังหวัดนครปฐม
จันทน์หอม (Mansonia gagei Drumm.) ชื่ออื่น จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์
ชะมด หรือจันทน์ จันทน์หอมเป็นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือก
เรียบ สีเทาอมขาว ใบรูปทรงรี ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเป็น
คลื่น กว้าง 3-6 เซนติเมตร และยาว 8-14 เซนติเมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ขึ้นตามป่า
ดิบแล้ง ภูเขาหินปูน ในแถบภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ สูงจาก
ระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-400 เมตร ออกดอกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ดอกเล็กสี
ขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายใบ ผลเป็นรูปกระสวย กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร และ
ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด ใช้ทำหีบเสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่อง
แกะสลัก หวี เนื้อไม้นำมากลั่นน้ำมันหอมใช้เป็นเครื่องหอม เครื่องสำอาง มีสรรพคุณทาง
สมุนไพรเป็นยาบำรุงหัวใจ ยาแก้ไอ

 

 

(Root) 2010118_82472.jpg
จังหวัดนนทบุรี
นนทรีบ้าน (Peltophorum pterocarpum Back.ex Heyne) ชื่ออื่น กระถินแดง
กระถินป่า หรือสารเงิน นนทรีบ้านเป็นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ใบประกอบ
รูปขนนก เรียงสลับกัน ใบย่อยขอบขนานกว้าง 0.5 เซนติเมตรและยาว 1-1.5 เซนติเมตร
เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่ม พบตามป่าชายเลนริมทะเลทั่วไป ออกดอกในเดือน
มกราคม-มีนาคม ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบนรูป
หอก โคนและปลายสอบ กว้าง 2 เซนติเมตร และยาว 5-12 เซนติเมตร ใน 1 ฝัก มี 4
เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด เนื้อไม้แข็ง ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง และเครื่องเรือน เปลือกมี
รสฝาดเป็นยาสมุนไพรใช้ขับเสมหะ แก้โรคท้องร่วง และขับลม

 

 

 

 

(Root) 2010118_82482.jpg
จังหวัดปทุมธานี
ทองหลางลาย (Erythrina variegata Linn.) ชื่ออื่น ปาริฉัตร ปาริชาติ ทองบ้าน
ทางเผือก หรือทองหลางด่าง ทองหลางลายเป็นไม้ยืนต้นชนิดผลัดใบ สูง 5-10 เมตร ใบ
ประกอบรูปขนนก มีใบย่อย 3 ใบ กิ่งและต้นอ่อนมีหนามแหลม เรือนยอดเป็นพุ่มทรง
กลมโปร่ง พบทั่วไปทั้งในเขตร้อนและอบอุ่น ในประเทศไทยพบมากในภาคกลาง ออก
ดอกในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ดอกสีแดงเข้ม เป็นช่อ ยาวประมาณ 30-40
เซนติเมตร ผลเป็นฝักยาว 15-30 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด และปักชำ
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม

 

 

 

 

 

(Root) 2010118_82491.jpg
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เกด (Manilkara hexandra Dubard) ชื่ออื่น ครินี หรือไรนี เกดเป็นไม้ยืนต้น สูง
15-20 เซนติเมตร ลำต้น ใบมีรูปร่างคล้ายไข่สลับกัน ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนสอบ
กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร และยาว 5-10 เซนติเมตร พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่าเขาที่ค่อนข้าง
แห้งแล้ง ดินเป็นดินปนทราย ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกดอกใน
เดือนมกราคม-กรกฎาคม ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ มีกลิ่น
หอม ผลเป็นรูปทรงรี ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลสุกมีสี
เหลืองแสด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด ผลสุกรสหวานรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้สลักแทน
ตะปู และใช้ทำสลักโครงเรือ

 

 

 

 

 

(Root) 2010118_82500.jpg
จังหวัดปราจีนบุรี
โพศรีมหาโพธิ์ (Ficus religiosa Linn.) ชื่ออื่น สลี ย่อง ปู หรือโพ โพศรีมหาโพธิ์
เป็นไม้ยืนต้นสูง 20-30 เมตรเปลือกสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับกว้าง 12-24
เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านยาว 8-12 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิด
จากอินเดีย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบมากในภาคกลาง ออกดอกทั้ง
ปี ดอกเล็ก ผลมีรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผลสุกมีสีม่วงดำ
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด ผลรับประทานได้ เป็นยาระบาย ใบและยอดใช้รักษาโรค
ผิวหนัง เปลือกแห้งใช้รักษากามโรค

 

 

 

 

 (Root) 2010118_82749.jpg

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมัน (Cordia cochinchinensis Pierre) หมันเป็นไม้ยืนต้นสูง 5-15 เมตร
เปลือกลำต้นสีเทาเรียบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 7 เซนติเมตร และยาว
15 เซนติเมตร โคนกว้าง ปลายทู่ พบในป่าชายเลนดินค่อนข้างแข็ง ตามฝั่งทะเลอ่าวไทย
ออกดอกตลอดทั้งปี ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ผลสุกเปลือกสีชมพู มีของเหลวเหนียวห่อหุ้ม
เมล็ดไว้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด เปลือกใช้ทำเชือก ของเหลวในผลใช้ทำกาว และยา
แนวเรือ

HOME

Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 48,754 Today: 3 PageView/Month: 11

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...